วันพุธที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2566

วิสาหกิจชุมชนเกษตรกร ต.ท่าโรงช้าง จ.สุราษฎร์ธานี คว้าเงินรางวัล 50,000 บาท จากการแข่งขัน แบบจำลองธุรกิจ “พลอยได้..พาสุข”

เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน 2566 ได้มีการจัดการแข่งขันรอบชิงชนะเลิศ แบบจำลองธุรกิจ “พลอยได้..พาสุข” ภายใต้โครงการเสริมสร้างขีดความสามารถเพื่อสนับสนุนการแข่งขันแผนธุรกิจและการนำไปดำเนินการ (Capacity building to support the business model competition and implementation) โดย กรมโรงงานอุตสาหกรรม องค์การพัฒนาอุตสาหกรรมแห่งสหประชาชาติ (UNIDO) การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย กรมควบคุมมลพิษ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ภายใต้การดำเนินงานจัดการแข่งขันโดย คณะพัฒนาสังคมและและยุทธศาสตร์การบริหาร สถาบันบันฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์ ณ โรงแรม เดอะ สุโกศล กรุงเทพ (The Sukosol Hotel) ถ.ศรีอยุธยา แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร


































ทีมข่าว “เมืองคนดีนิวส์” ขอแสดงความยินดี กับทีมจาก จ.สุราษฎร์ธานี นั้นคือ วิสาหกิจชุมชนเกษตรกรตำบลท่าโรงช้าง หมู่ 5 บ้านควนไทร ต.ท่าโรงช้าง อ.พุนพิน จ.สุราษฎร์ธานี  ชึ่งมี น.ส.ปัทมา ซัง และนายวัชรินทร ์ใจชื่น เป็นตัวแทนกลุ่มนำเสนอ แผนธุรกิจปุ๋ยหมักชีวภาพ “ตราราก” โดยผลการแข่งขันที่ออกมาวิสาหกิจชุมชนเกษตรกรตำบลท่าโรงช้าง ได้รับรางวัล “รองชนะเลิศ” รับเงินรางวัล 50,000 บาท พร้อมโล่รางวัลและประกาศเกียรติคุณ

















ปุ๋ยหมักชีวภาพ “ตราราก” เกิดจากการนำกากของเสียหรือวัตถุดิบพลอยได้จากโรงงานอุตสาหกรรมในพื้นที่เขตพัฒนาอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้แก่ บจ.นทีชัย บจ.ไทยเบฟเวอเรจเอ็นเนอร์ยี่ บมจ.เสริมสุข บจ.นิวไบโอดีเซล บจ.ทักษิณปาล์ม (2521) บมจ.หาดทิพย์ บจ.ชัวร์เท็กซ์ และบจ.ซีพีแรม มาผลิตเป็นปุ๋ยหมักชีวภาพ ภายใต้การดูแลและให้คำปรึกษาจากคณะอาจารย์จากมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี ได้แก่ อ.บุษยมาศ เหมณี อ.ภูเด่น แก้วภิบาล และอ.ธีราวรรณ จันทร์แสง และการสนับสนุนจาก โครงการชุมชนดีมีรอยยิ้มสุราษฎร์ธานี บมจ.ไทยเบฟเวอเรจ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี สำนักงานเกษตรอำเภอพุนพิน และสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสุราษฎร์ธานี





















🌐https://www.diw.go.th/webdiw/pr66-306/

#กรมโรงงานอุตสาหกรรม #กรมโรงงาน #กรอ #กระทรวงอุตสาหกรรม #DIW #MIND #เมืองอุตสาหกรรม #อุตสาหกรรมเชิงนิเวศ #ECO #IndustrialTown #คณะทำงานด้านเทคนิค #TWG #พลอยได้พาสุข  #ลดของเสีย #วัสดุเหลือใช้ #สร้างรายได้ #อาชีพ #สังคม #ชุมชน  #Crystalszaa #MEDEESHINE    #แข่งขัน #จำลองธุรกิจ

































วันจันทร์ที่ 5 มิถุนายน พ.ศ. 2566

ม.นอร์ทกรุงเทพฯ จัดอบรม "ผู้สื่อข่าวกลุ่มใหม่ และผู้สื่อข่าวอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Reporter" จำนวน 81 คน ที่ จังหวัดสุราษฎร์ธานี #เมืองคนดีนิวส์

 




เมื่อวันที่ 5 มิ.ย. 2566 ณ ห้องนางยวน โรงแรมร้อยเกาะ อ.เมืองฯ จ.สุราษฎร์ธานี ผศ.ดร.สุดาภรณ์ อรุณดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพฯ  เป็นประธานเปิดโครงการส่งเสริมทักษะการเรียนรู้การเป็นผู้สื่อข่าวที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและมีความน่าเชื่อถือสามารถทำงานเป็นอิสระให้กับสื่อมวลชนต่าง ๆ ของ “ผู้สื่อข่าวกลุ่มใหม่/ผู้สื่อข่าวอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Reporter ในหน่วยงานสื่อมวลชนต่าง ๆ เช่น หน่วยงานภาครัฐ เจ้าของสื่อธุรกิจ โทรทัศน์ สถานีวิทยุ นิตยสาร และหนังสือพิมพ์” จัดโดยมหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ ภายใต้การได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมเพื่อประโยชน์สาธารณะ(กทปส.)และสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ(กสทช.) 






โดยมีวัตถุประสงค์ให้ความ​ตระหนักถึงหลักทางจริยธรรมและศีลธรรมที่ควรปฏิบัติ เพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีในการนำเสนอข่าว เพื่อออกแบบ และดำเนินการแสดงผลงานของผู้สื่อข่าว/หน่วยงานสื่อมวลชนต่างๆ​ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ตลอด​จนเป็น​การสร้างแกนนำต้นกล้านักข่าวรุ่นใหม่ ในการอบรม​ครั้งนี้​มีทั้งกิจกรรม​ภาควิชาและภาคปฏิบัติ​ ชึ่งได้วิทยากรผู้เชี่ยวชาญให้ความรู้จำนวน 4 ท่าน หัวข้อการตระหนักถึงทางจริยธรรมและศีลธรรมที่ควรปฏิบัติเพื่อสร้างจิตสำนึกที่ดีในการนำเสนอข่าว โดย​ ผศ.ดร.ณรงค์ อนุรักษ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนสุนันทา หลักสูตรการออกแบบประเมินผู้สื่อข่าวและคู่มือประเมินคุณธรรมจริยธรรม โดย ผศ.ดร.สุดาภรณ์ อรุณดี คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ​ การบรรยายและการลงมือปฏิบัติ​ หัวข้อคุณสมบัติของนักข่าวและวิธีการนำเสนอข่าว โดย เจ้าพระยา ท่าพระจันทร์ อดีตผู้สื่อข่าวชื่อดังของประเทศไทย และหัวข้อการทำวิดีโอด้วยมือถือเพียงเครื่องเดียว โดย ดร.ศราวุธ ศรีทองคำ จากมหาวิทยาลัยบูรพา ​ชึ่งมีผู้เข้าร่วมการอบรมจำนวน 81 คน