วันที่ 24 สิงหาคม 2566 ณ ห้องประชุมเพทาย โรงแรมไดมอนด์พลาซ่า อำเภอเมือง จังหวัดสุราษฎร์ธานี ได้มีพิธีเปิดการประชุมเชิงปฏิบัติการพัฒนานักสื่อสารสร้างสุขในปฎิบัติการต่อความหวังสร้างพลังใจ (HOPE Task Force) โดยมีนายแพทย์อาทิตย์ เล่าสุอังกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ เป็นประธาน และนางสาวพรประไพ แขกเต้า พยาบาลวิชาชีพชำนาญการพิเศษ เป็นผู้กล่าวรายงาน ชึ่งกิจกรรมจะมี 2 วัน โดยในวันที่ 24 ส.ค. นี้ มีคณะวิทยากรจากสถาบันการเรียนรู้การสร้างเสริมสุขภาพ (Thai Health Academy) และกรมสุขภาพจิต โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักสนับสนุนการควบคุมปัจจัยเสี่ยงทางสุขภาพ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและกรมสุขภาพจิต ชึ่งผู้เข้าร่วมประชุมครั้งนี้ ประกอบด้วยภาคีเครือข่ายสื่อสารสร้างสรรค์จากกลุ่มสื่อมวลชนท้องถิ่น ประชาสัมพันธ์จังหวัด และทีม MCATT จำนวน 35 ท่าน
นายแพทย์อาทิตย์ เล่าสุอังกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสวนสราญรมย์ เปิดเผยว่า "กรมสุขภาพจิต เห็นความสำคัญของการดูแลสุขภาพจิตคนไทยมาโดยตลอด โดยนอกเหนือจากการเฝ้าระวัง การให้ความรู้ การสื่อสารและผู้สร้างสาร เป็นกลไกที่สำคัญในการที่จะทำให้ประชนได้รับความรู้อย่างถูกต้อง ซึ่งที่ผ่านมากลไกการสื่อสารดังกล่าวได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีในการส่งต่อข้อมูลไปยังประชาชน แต่การที่จะทำให้ความรู้เหล่านั้นเป็นไปในบริบทที่สังคมยอมรับและติดตาม ยังเป็นสิ่งที่กรมสุขภาพจิตยังต้องการการสนับสนุน และต้องการที่จะทำให้ความรู้ที่ถูกต้อง ถูกส่งต่อไปยังประชาชนด้วยรูปแบบที่หลากหลาย สร้างการจดจำและนำไปสู่การใช้ประโยชน์ที่ยั่งยืน"
โครงการนี้จึงเป็นจุดเริ่มต้นในการสร้างระบบนิเวศสุขภาพจิตแบบยั่งยืนของประเทศไทย โดยมุ่งเน้นที่ความเข้าใจของสังคมในวงกว้างถึงความสำคัญและประโยชน์ของการมีสุขภาพจิตแบบยั่งยืน เพื่อเพิ่มสุขภาพจิตที่ดี และลดปัญหาโรคทางจิต ซึ่งผู้ที่สามารถขับเคลื่อนแนวคิดและระบบนิเวศนี้ได้ในวงกว้าง คือ ผู้ที่ทำงานด้านการสื่อสารและผู้ที่มีผู้ติดตามในสังคมเป็นจำนวนมาก การพัฒนาผู้นำการขับเคลื่อนด้านสุขภาพจิตจากภาคสื่อสารประชาสัมพันธ์เพื่อเสริมสร้างระบบนิเวศสุขภาพจิตแบบยั่งยืนในโครงการนี้ จึงเป็นก้าวสำคัญแรกในการนำประเทศไทยไปสู่การมีสุขภาพจิตแบบยั่งยืน โดยวัตถุประสงค์ของโครงการประกอบด้วย
1.เพื่อพัฒนาผู้นำการขับเคลื่อนด้านสุขภาพจิตจากภาคสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่มีศักยภาพสูง และสามารถนำองค์ความรู้ด้านสุขภาพจิตไปปรับใช้เพื่อสร้างระบบนิเวศสุขภาพจิตแบบยั่งยืน
2.เพื่อพัฒนาเครือข่ายจุดแจ้งเหตุเพื่อการกู้ชีพจากการฆ่าตัวตาย (suicidal rescue)
3.เพื่อให้มีความรอบรู้ด้านสุขภาพจิต รู้จักปัญหาสุขภาพจิตที่มีอยู่รอบตัว รู้วิธีการแก้ปัญหาเบื้องต้น รู้จักช่องทางการให้การช่วยเหลือ และสามารถให้ความช่วยเหลือและแนะนำเบื้องต้นแก่บุคคลอื่นได้